มูลนิธิคุ้มครองเด็ก

ต้องมีเงื่อนไข-ทรัพย์สิน เท่าไร เปิด หลักเกณฑ์ ตั้ง “มูลนิธิคุ้มครองเด็ก” ในไทย

เมื่อไม่นานมานี้ ท่านคงจะยังจำข่าว มูลนิธิคุ้มครองเด็ก “ครูยุ่น” นั้นได้มีการใช้แรงงานเด็ก และทำร้ายร่างกาย จนทำให้คณะกรรมการคุ้มครองเด็ก จังหวัดสมุทรสงครามนั้น ไม่ต่ออายุมูลนิธิ คุ้มครองเด็กครูยุ่นอีกต่อไป และได้ปล่อยให้สิ้นสภาพ การเป็นสถานสงเคราะห์ที่ได้รับอนุญาต โดยทั้งนี้ ใบอนุญาติของมูลนิธิ จะหมดอายุลงในช่วง ต้นปี 2566

และหลังจากนี้ หาก มูลนิธิครูยุ่น จะทำการยื่นต่ออายุมูลนิธิใหม่อีกครั้ง ก็จะต้องผ่านการพิจารณารายละเอียดต่างๆ มากมาย ไม่ว่าจะเป็น สิ่งแวดล้อมสิ่งอำนวยความสะดวก ความพร้อมด้านร่างกาย จิตใจ สุขอนามัยสาธารณสุข การพัฒนาเด็กและการศึกษา โดยทั้งหมดนี้จะเป็นอำนาจของ คณะกรรมการคุ้มครองเด็กจังหวัด รวมถึงต้องมีสหวิชาชีพเข้าไปร่วมพิจารณา

มูลนิธิคุ้มครองเด็ก
มูลนิธิคุ้มครองเด็ก มีที่มาอย่างไร

มูลนิธิคุ้มครองเด็ก ใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Child Protection Foundation ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นมูลนิธิจากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี 2537 เพื่อป้องกัน คุ้มครอง ช่วยเหลือ ฟื้นฟูและพัฒนาเด็กไทยที่ประสบปัญหาภาวะทุกข์ยาก ถูกทอดทิ้งและ “ถูกรังแกจากผู้ใหญ่ในสังคม”

ปัจจุบันกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) เป็นผู้รับผิดชอบในการกำกับดูแล และคุ้มครองเด็กถูกทอดทิ้ง เด็กกำพร้า โดย มูลนิธิ ถือเป็นนิติบุคลตามกฎหมาย เป็นองค์กรสาธารณะกุศลไม่แสวงหากำไรและผลประโยชน์ ดำเนินงานอยู่ได้ด้วยเงินบริจาค ไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ

หลักเกณฑ์การขอจดทะเบียนเป็นมูลนิธิคุ้มครองเด็ก

การขออนุญาตจัดตั้งมูลนิธิที่เกี่ยวกับการคุ้มครองเด็ก ต้องขออนุญาตจัดตั้งกับผู้ว่าราชการจังหวัด ที่มูลนิธินั้นตั้งอยู่ โดยต้องมีกองทุนเป็นเงินสดไม่น้อยกว่า 500,000 บาท ถ้าเป็นทรัพย์สินอย่างอื่นต้องมีเงินสดไม่น้อยกว่า 250,000 บาท และเมื่อรวมกับทรัพย์สินอื่นแล้วต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 500,000 บาท และจะอยู่ในความดูแลของสำนักงาน

พัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดที่ตั้ง ขึ้นต่อกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) โดยทุกปี เจ้าหน้าที่ พม.จังหวัด ต้องเข้าไปประเมินมาตรฐานของมูลนิธิ โดยมาตรฐานที่ว่า ประกอบด้วย สภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัย ความเป็นอยู่ของเด็ก การจัดการเรียนรู้ สุขอนามัย รายรับ-รายจ่าย และที่สำคัญ คือความปลอดภัยของเด็ก

ส่วน การจัดตั้งมูลนิธิคุ้มครองเด็กครูยุ่น แรกเริ่มของการจัดตั้งมูลนิธิ มีอาคารพาณิชย์ 3 ชั้น ตั้งอยู่ในซอยลาดพร้าว 106 ต่อมาในปี 2544 หลังมีเงินทุนบริจาคสนับสนุน จึงย้ายเด็กมาที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม ในโครงการ คืนบ้านให้เด็กหลังที่ 2 บนเนื้อที่ 1.5 ไร่ เริ่มที่บ้านอัมพวา 1 ก่อนจะขยาย บ้านอัมพวา 2 ในปี 2548 ปัจจุบันมีเด็กอยู่ในความดูแล 55 คน มี นายแก้วสรร อติโพธิ ประธานมูลนิธิ และนายมนตรี สินทวิชัย หรือ ครูยุ่น เลขาธิการมูลนิธิคุ้มครองเด็ก

แต่การดำเนินงานของมูลนิธิคุ้มครองเด็ก ครูยุ่นแห่งนี้ถือเป็นองค์กรสาธารณะกุศล รูปแบบนิติบุคคล ไม่แสวงหากำไร และผลประโยชน์ ใช้เงินบริจาคในการดำเนินงาน โดยไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ

ขอบคุณแหล่งที่มา : komchadluek.com

สามารถอัพเดตข่าวสารเรื่องราวต่างๆได้ที่ : tremollett.com